ปรากฎการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue Moon)
ในวันที่ 31 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ เดอะซัน รายงานว่า ปรากฏการณ์ Blue Moon ที่หาชมได้ยาก จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้าในเทศกาลฮาโลวีนคืนนี้ ครั้งแรกในรอบ 76 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2487 ที่ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนเดียวกัน ซึ่งครั้งนี้เกิดขึ้นในคืนวันฮาโลวีน และยังตรงกับเทศกาลลอยกระทงของบ้านเราพอดี
ในเดือนตุลาคมปีนี้ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งแรก เกิดขึ้นไปเมื่อวันที่ 1 เรียกว่า Harvest Moon
นอกจาก Blue Moon แล้วในคืนนี้ ยังอีกปรากฏการณ์ คือ Micro Full Moon หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี โดยปีนี้ห่างจากโลกที่ระยะประมาณ 406,153 กิโลเมตร ซึ่งในวงการดาราศาสตร์ เรียกปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ในคืนนี้ได้ว่า Micro Blue Moon
ปรากฏการณ์บลูมูนเกิดขึ้นเนื่องจากใน 1 ปี มี 12 เดือน และบางเดือนมี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน แต่ว่ารอบของดวงจันทร์มีเพียง 29.53059 วันต่อเดือน และใน 1 ศตวรรษจะมีทั้งหมด 1200 เดือน โดยจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงได้ถึง 1236.83 ครั้ง แต่จะเป็นบลูมูนแค่ 36.83 ครั้ง หรือเฉลี่ยแล้วประมาณ 2.72 ปีต่อครั้ง แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือจะมีการเกิดบลูมูนปีละ 2 ครั้งในทุก ๆ 19 ปี ซึ่งปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนในหนึ่งปี (Double Blue Moons)
อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับการมองเห็น และพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงไฟสว่างเพื่อการรับชม
